หน้าหลัก   เกี่ยวกับเรา     บริการของเรา ร่วมงานกับเรา    ความรู้บัญชีและภาษี
 
kk-solution kk-solution kk-solution kk-solution
 
knowledge

ก้าวไกลสอบบัญชี

  • ประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2554 (update 24 Apr 2012)

  • Ref: http://www.dbd.go.th/mainsite/index.php?id=24514

    ดาวน์โหลด แบบที่ 1

    ดาวน์โหลด แบบที่ 2

    ดาวน์โหลด แบบที่ 3

    ดาวน์โหลด แบบที่ 4

    ดาวน์โหลด แบบที่ 5

    ตามที่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ออกประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๔ ลงวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๔ โดยยกเลิกประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๒ ลงวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๒ และกำหนดให้งบการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องมีรายการย่อ ดังต่อไปนี้
    ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ต้องมีรายการย่อตาม แบบ ๑
    บริษัทจำกัด ต้องมีรายการย่อตาม แบบ ๒
    บริษัทมหาชนจำกัด ต้องมีรายการย่อตาม แบบ ๓
    นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ต้องมีรายการย่อตาม แบบ ๔
    กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ต้องมีรายการย่อตาม แบบ ๕

    เพื่อให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเข้าใจถึงแนวคิดในการกำหนดรูปแบบและความหมายของรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน รวมทั้งเพื่อให้การจัดทำงบการเงินมีมาตรฐานเดียวกัน กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจึงขอชี้แจง ดังต่อไปนี้

    ๑. การกำหนดความหมายและรูปแบบของรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน
    ๑.๑ ความหมายของศัพท์ที่มีความหมายเฉพาะตามประกาศฉบับนี้
    กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (Non-Publicly Accountable Entities : NPAEs) หมายถึง กิจการที่ไม่เข้าลักษณะ ดังต่อไปนี้
    (๑) กิจการที่มีตราสารทุนหรือตราสารหนี้ของกิจการ ซึ่งมีการซื้อขายต่อประชาชน ไม่ว่าจะเป็นตลาดหลักทรัพย์ในประเทศหรือต่างประเทศ หรือการซื้อขายนอกตลาดหลักทรัพย์ (Over the Counter) รวมทั้งตลาดในท้องถิ่นและในภูมิภาค หรือกิจการที่นำส่งหรืออยู่ในกระบวนการของการนำส่งงบการเงินของกิจการให้แก่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือหน่วยงานกำกับดูแลอื่น เพื่อวัตถุประสงค์ในการออกขายหลักทรัพย์ใดๆ ต่อประชาชน
    (๒) กิจการที่ดำเนินธุรกิจหลักในการดูแลสินทรัพย์ของกลุ่มบุคคลภายนอกในวงกว้าง เช่น สถาบันการเงิน บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันวินาศภัย บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนรวม ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น เป็นต้น
    (๓) บริษัทมหาชนจำกัดตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด
    (๔) กิจการอื่นที่สภาวิชาชีพบัญชีจะกำหนดเพิ่มเติม

    ๑.๒ การกำหนดรูปแบบรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน
    (๑) รูปแบบรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงินของบริษัทมหาชนจำกัด (แบบ ๓) กำหนดขึ้นโดยอ้างอิงมาจากมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่สภาวิชาชีพบัญชีประกาศกำหนดตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ (International Financial Report Standard : IFRS)
    (๒) รูปแบบรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงินของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน (แบบ ๑) บริษัทจำกัด (แบบ ๒) นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ (แบบ ๔) และกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร (แบบ ๕) กำหนดขึ้นโดยอ้างอิงมาจาก มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (TFRS for Non-Publicly Accountable Entities : TFRS for NPAEs) ที่สภาวิชาชีพบัญชีประกาศกำหนด

    ๑.๓ การกำหนดความหมายของรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน
    ความหมายของรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงินที่แนบท้ายคำชี้แจงฉบับนี้ จะอธิบายเฉพาะคำนิยามของแต่ละรายการเท่านั้น สำหรับการรับรู้รายการ และการวัดมูลค่า ให้กิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐานรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้อง

    ๒. การจัดทำงบการเงิน
    ๒.๑ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่ต้องจัดทำงบการเงินตามประกาศฉบับนี้ ได้แก่
    (๑) ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่ต้องจัดทำงบการเงิน และต้องนำส่งงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ และกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
    (๒) นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ คือ นิติบุคคลซึ่งไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทยและเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทยในทุกกรณี ไม่ว่าจะประกอบธุรกิจโดยได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวหรือไม่ก็ตาม โดยครอบคลุมถึงสำนักงานผู้แทนของนิติบุคคลต่างประเทศในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศและสำนักงานภูมิภาคของบริษัทข้ามชาติด้วย
    (๓) การกำหนดรายการย่อของงบการเงินตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เป็นการกำหนดรายการย่อของงบการเงินสำหรับธุรกิจโดยทั่วไปเท่านั้น สำหรับธุรกิจที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายเฉพาะ เช่น สถาบันการเงิน บริษัทประกันภัย บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทบริหารสินทรัพย์ บริษัทโฮลดิ้งที่เป็นบริษัทแม่ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน ให้ใช้รายการย่อตามที่กำหนดในกฎหมายเฉพาะนั้นๆ

    ๒.๒ หลักการจัดทำงบการเงิน
    (๑) ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีแต่ละประเภทต้องจัดทำงบการเงิน ดังนี้

    แบบ/
    ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

    งบแสดง
    ฐานะการเงิน
    งบกำไร
    ขาดทุน
    เบ็ดเสร็จ
    งบกำไร
    ขาดทุน
    งบแสดง
    การเปลี่ยนแปลง
    ส่วนของเจ้าของ
    งบกระแส
    เงินสด
    งบการเงิน
    รวม
    หมายเหตุ
    ประกอบ
    งบการเงิน
    งบการเงิน
    เปรียบเทียบ
    กับปีก่อน
    ๑ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน / - / - - - / /
    ๒ บริษัทจำกัด / - / / - - / /
    ๓ บริษัทมหาชนจำกัด / / - / / / / /
    ๔ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตาม
    กฎหมายต่างประเทศ
    / - / / - - / /
    ๕ กิจการร่วมค้าตาม
    ประมวลรัษฎากร
    / - / / - - / /

    (๒) ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่เป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ และกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ที่เข้าเงื่อนไขเป็นกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะหรือเข้าเงื่อนไขเป็นกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะแต่มีความประสงค์จะจัดทำบัญชีตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่สภาวิชาชีพบัญชีประกาศกำหนดโดยอ้างอิงมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ (IFRS) ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีดังกล่าวจัดทำงบการเงินโดยนำรูปแบบรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงินของบริษัทมหาชนจำกัด (แบบ ๓) มาใช้ โดยปรับปรุงรายการที่เกี่ยวข้องกับส่วนของเจ้าของให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงตามกฎหมายและข้อกำหนดของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน
    (๓) เมื่อผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเลือกแสดงงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จแบบใดแบบหนึ่งตามข้อ ๕ ของประกาศฉบับนี้ หรือเลือกแสดงงบกำไรขาดทุนแบบใดแบบหนึ่งตามข้อ ๖ ของประกาศฉบับนี้ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีควรถือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอเพื่อประโยชน์ในการเปรียบเทียบ อย่างไรก็ตาม หากผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีมีการเปลี่ยนแปลงแบบที่เลือกไว้ให้กิจการปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องและให้เปิดเผยไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินด้วย
    (๔) ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่เป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ตามข้อ ๒.๑ (๒) เมื่อจัดทำรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงินตามแบบ ๔ ในรายการทุนขั้นต่ำตามกฎหมายแยกตามประเภทธุรกิจ ให้แยกทุนขั้นต่ำตามกฎหมายที่ได้รับจากสำนักงานใหญ่ตามประเภทธุรกิจนั้น โดยอาจแสดงรายละเอียดแต่ละประเภทในงบการเงิน หรืออาจแสดงยอดรวมไว้ในงบการเงินแล้วเปิดเผยรายละเอียดแยกตามประเภทธุรกิจไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินก็ได้
    กรณีที่นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลายประเภท เช่น ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจบริการเป็นสำนักงานผู้แทน และได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจบริการเป็นสำนักงานสาขาเพื่อประกอบธุรกิจบริการให้คำปรึกษาด้วย ให้จัดทำงบการเงินฉบับเดียวในภาพรวมโดยถือเป็นหนึ่งหน่วยธุรกิจ
    (๕) ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่มีฐานะเป็นคนต่างด้าวและได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวให้เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมในหมายเหตุประกอบงบการเงินเกี่ยวกับรายการดังต่อไปนี้ด้วย
    - ลักษณะการประกอบธุรกิจ และรายการทุนขั้นต่ำตามกฎหมายแยกตามประเภทธุรกิจที่ได้รับใบอนุญาต
    - รายได้ และค่าใช้จ่ายแยกตามประเภทธุรกิจที่ได้รับใบอนุญาต
    (๖) กรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจัดทำงบการเงินตามแบบ ๓ และได้นำนโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติย้อนหลัง หรือการปรับงบการเงินย้อนหลัง หรือเมื่อกิจการมีการจัดประเภทรายการในงบการเงินใหม่ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องนำเสนองบแสดงฐานะการเงิน ณ วันต้นงวดของงวดที่นำมาเปรียบเทียบที่ใกล้ที่สุดด้วย
    สำหรับงบการเงินซึ่งมีรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๔ และเป็นรอบระยะเวลาบัญชีแรกที่กิจการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๑ (ปรับปรุง ๒๕๕๒) เรื่อง การนำเสนองบการเงิน ถือเป็นการนำนโยบายการบัญชีมาปรับปรุงย้อนหลัง หรือจัดประเภทรายการในงบการเงินใหม่ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีสามารถเลือกที่จะแสดงงบแสดงฐานะการเงินเพียงสองงบ โดยไม่แสดงงบแสดงฐานะการเงิน ณ วันต้นงวดของงวดที่นำมาเปรียบเทียบ
    (๗) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีแรกที่จัดทำงบการเงินตามประกาศฉบับนี้ หรือกรณีที่มีการแปรสภาพกิจการระหว่างปี งบการเงินของรอบระยะเวลาบัญชีก่อนที่นำมาเปรียบเทียบอาจมีการจัดประเภทรายการหรือมีรูปแบบที่แตกต่างจากประกาศฉบับนี้ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีควรจัดประเภทรายการหรือรูปแบบที่จะนำมาเปรียบเทียบให้สอดคล้องกับประกาศฉบับนี้ด้วย เว้นแต่ในทางปฏิบัติไม่สามารถทำได้
    กรณีที่มีการแปรสภาพกิจการในระหว่างปี การจัดทำงบการเงินให้ถือว่าผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีมีรอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน ตัวอย่างเช่น ห้างหุ้นส่วนจำกัดปิดบัญชีตามปีปฏิทิน และห้างหุ้นส่วนดังกล่าวได้แปรสภาพจากห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นบริษัทจำกัด เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๔ ดังนั้น รอบระยะเวลาบัญชีแรกภายหลังการแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัด คือ ๑ มกราคม ๒๕๕๔ สิ้นสุดวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๔ โดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีควรเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการแปรสภาพกิจการในหมายเหตุประกอบงบการเงินด้วย
    (๘) การจัดประเภทรายการในงบการเงิน ให้พิจารณา ดังนี้
    - ให้พิจารณาลักษณะการดำเนินงานของธุรกิจ และมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ รวมทั้งคำนึงถึงนโยบายการกำกับดูแลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    - ให้พิจารณาเนื้อหาเชิงเศรษฐกิจมากกว่ารูปแบบทางกฎหมาย เช่น หุ้นบุริมสิทธิซึ่งให้สิทธิผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่ออกหุ้นในการบังคับไถ่ถอนด้วยจำนวนเงินที่แน่นอนหรือที่สามารถทราบได้ ณ วันที่กำหนดไว้หรือวันที่ทราบได้ หรือหุ้นบุริมสิทธิซึ่งให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นในการเรียกร้องให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีไถ่ถอนหุ้นในหรือหลังวันที่ที่กำหนดไว้ด้วยจำนวนเงินที่แน่นอนหรือที่สามารถทราบได้ หุ้นบุริมสิทธินั้นต้องจัดประเภทเป็นหนี้สินในงบแสดงฐานะการเงิน เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้สอดคล้องตามข้อเท็จจริงและมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องด้วย
    (๙) รูปแบบรายการย่อเป็นเพียงแนวทางที่กำหนดให้แสดงรายการแยกเป็นแต่ละบรรทัดพร้อมจำนวนเงินหากผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีไม่มีรายการตามที่แบบรายการย่อกำหนดไว้ก็ไม่ต้องแสดงรายการดังกล่าวไว้ในงบการเงิน เช่น
    - งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ หากผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีไม่มีรายการกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ก็ไม่ต้องแสดงรายการดังกล่าว โดยให้แสดงรายการกำไร (ขาดทุน) เบ็ดเสร็จรวมสำหรับปี ต่อจากรายการกำไร (ขาดทุน) สำหรับปี
    - งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น ถ้าในระหว่างปีมีการเปลี่ยนแปลงเฉพาะกำไร (ขาดทุน) สำหรับปีเท่านั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในรายการอื่น ก็ให้แสดงเฉพาะการเปลี่ยนแปลงในกำไร (ขาดทุน) สำหรับปีเท่านั้น
    (๑๐) กรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีมีรายการนอกเหนือจากที่รูปแบบรายการย่อกำหนดไว้ให้แสดงรายการนั้นได้ตามความจำเป็นและเหมาะสมแก่กรณี เช่น แบบรายการย่อกำหนดให้แสดงรายการย่อไว้เพียงรายการเดียว ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจะแสดงรายละเอียดภายใต้รายการนั้นก็ได้ แต่ต้องแสดงรายการให้ถูกต้องตามประเภทและลักษณะของสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้หรือค่าใช้จ่าย เป็นต้น
    กรณีที่มาตรฐานการรายงานทางการเงินกำหนดให้มีรายการย่อนอกเหนือจากรายการที่กำหนดในประกาศฉบับนี้ ให้แสดงรายการนั้นเพิ่มเติมตามที่มาตรฐานการรายงานทางการเงินกำหนด
    (๑๑) การแสดงรายการส่วนเกิน (ต่ำกว่า) มูลค่าหุ้นบุริมสิทธิ หรือส่วนเกิน (ต่ำกว่า) มูลค่าหุ้นสามัญ หากมีทั้งส่วนเกินและส่วนต่ำของหุ้นทุนประเภทเดียวกันและมีเนื้อหาเศรษฐกิจเดียวกันสามารถนำมาหักกลบ และแสดงเป็นมูลค่าสุทธิได้ เช่น ส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้นสามัญสามารถหักกลบกับส่วนเกินมูลค่าหุ้นสามัญได้ แต่ไม่ให้หักกลบส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้นสามัญกับส่วนเกินมูลค่าหุ้นบุริมสิทธิ เนื่องจากเป็นหุ้นทุนคนละประเภทและมีสิทธิตามกฎหมายที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ การหักกลบดังกล่าวเป็นเพียงการนำเสนอข้อมูลในงบการเงินเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในการบันทึกรายการบัญชีจะต้องแยกบันทึกรายการส่วนเกินมูลค่าหุ้น และส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้นของทั้งหุ้นบุริมสิทธิและหุ้นสามัญเป็นแต่ละบัญชีแยกจากกัน
    รายการส่วนเกินมูลค่าหุ้น ต้องเป็นเงินหรือสิ่งตอบแทนที่ได้รับจากการขายหุ้นส่วนที่สูงกว่ามูลค่าที่ตราไว้ตามที่จดทะเบียนหรือที่ได้มาจากการลดทุนจดทะเบียนในส่วนที่ได้มีการชำระเงินจากผู้ถือหุ้นแล้วและมิได้คืนกลับให้ผู้ถือหุ้น
    (๑๒) การกำหนดหน่วยจำนวนเงินบาท อาจแสดงเป็นหน่วยของหลักพัน หลักหมื่น หลักแสน หลักล้านได้ตามความเหมาะสม แต่ต้องระบุหน่วยของหลักที่ใช้ไว้ในงบการเงิน
    (๑๓) หมายเลขกำกับรายการที่ปรากฏในงบการเงินมีไว้เพื่อความสะดวกในการอ้างอิงเท่านั้น ในการจัดทำงบการเงินไม่ต้องแสดงหมายเลขดังกล่าว
    (๑๔) รายการย่อของงบการเงินตามที่กำหนดไว้ในประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2554 ลงวันที่ 28 กันยายน 2554 มีความหมายโดยย่อดังที่ได้แนบท้ายคำชี้แจงนี้

    อนึ่ง ในทางปฏิบัติอาจมีบางกรณีที่นอกเหนือจากคำชี้แจงที่ให้ไว้นี้ และอาจจำเป็นต้องพิจารณามาตรฐานการรายงานทางการเงินเพิ่มเติม โดยไม่จำกัดขอบเขตเพียงคำชี้แจงและตัวอย่างที่ให้ไว้ในที่นี้เท่านั้น

    จึงขอชี้แจงให้ทราบทั่วกัน

    กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
    วันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๔

     

  • การใช้หมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก กำหนดเริ่ม 1 กุมภาพันธ์ 2555 (update 08 FEB 2012)

    กรมสรรพากรกำหนดให้ผู้เสียภาษีทุกประเภท ทั้งที่เป็น
    -บุคคลธรรมดา
    -คณะบุคคล
    -ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล
    -กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
    -บริษัท
    -ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
    -มูลนิธิ สมาคม กิจการร่วมค้า
    -บุคคลต่างด้าว
    -รวมทั้งผู้จ่ายเงินได้
    ใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก แทนเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 10 หลัก

    มีประเด็นที่อยากให้เพื่อนๆ ทราบดังนี้
    1. สำหรับผู้เสียภาษีที่เคยมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี 10 หลัก เดิมอยู่แล้ว
    1.1 ไม่ต้องขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษี 13 หลักใหม่เพราะทางกรมสรรพากรเค้าเตรียมไว้ให้เราอยู่แล้ว เพียงรอหน้า web ที่ทางกรมสรรพากรจะจัดเตรียมไว้ให้เราสามารถเค้าไป "ค้นหา" เลขประจำตัวผู้เสียภาษี 13 หลักได้ (ไปสัมมนามาทางกรมสรรพากรเค้าบอกว่าน่าจะเสร็จประมาณกลางเดือนน่ะ ถ้าจำไม่ผิด)
    1.2 สำหรับเรื่อง การยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษี การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย การติดต่อราชการกับกรมสรรพากร รวมทั้งการจัดทำเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การจัดทำใบกำกับภาษี การจัดทำใบเสร็จรับเงิน
    ที่เพื่อนๆ ได้เคยจัดพิมพ์เก็บไว้ โดยเฉพาะใบกำกับภาษี หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ใบรับและใบส่งของ ที่มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรเดิม(10 หลัก) ไว้แล้ว สามารถใช้ต่อได้โดยใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรเดิม(10 หลัก)ต่อไปได้จนถึง"วันที่ 1 มกราคม 2556"
    โดยไม่ต้องพิมพ์เพิ่มหรือเขียนหรือตรายางเลขประจำตัวผู้เสียภาษี 13 หลักเพิ่มเติมในเอกสารแต่อย่างใด

    หวังว่าเพื่อนๆ คงสบายใจกันขึ้นบ้าง ไม่ต้องรีบร้อนมาก ของเดิมยังใช้ได้อยู่

    ทั้งนี้ช่วยให้ผู้ประกอบการ นักธุรกิจและผู้เสียภาษี ได้รับความสะดวก รวดเร็ว ลดขั้นตอนในการติดต่อราชการในอนาคต กรมสรรพากร สำนักงานประกันสังคม และกรมพัฒนาธุรกิจการค้าใช้หมายเลขเดียวกัน เพื่อความสะดวก รวดเร็วในการปฏิบัติงานในภาพรวมของหน่วยงานรัฐนะค่ะ

    2. สำหรับผู้เสียภาษีที่ไม่เคยมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี 10 หลัก
    ติดต่อไปได้ที่ ศูนย์บริการข้อมูลสรรพากร RD Call Center โทร.1161
  •  

    อ้างอิงข้อมูลจาก : http://download.rd.go.th/fileadmin/download/nid.pdf

  • สิทธิประโยชน์ทางภาษี (Update 28 Sep 2011)

1. หักรายจ่ายได้ 2 เท่า

- ค่าฝึกอบรมลูกจ้าง พนักงานลูกจ้่าง บจ., อบรมในสถานศึกษา, สถานฝึกอบรมฝีมือแรงงาน

- ค่าจ้างทำวิจัยและพัฒนาทางเทคโนโลยี จ่ายให้แก่หน่วยงานรัฐ/เอกชน

- ค่าอบรม สัมมนาลูกจ้างในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นห้องสัมมนา ห้องพัก ค่าขนส่ง รายจ่ายที่จ่ายให้ธุรกิจนำเที่ยว

- ค่าเช่าพื้นที่ จัดนิทรรศการ แสดงสินค้า ค่าประกันภัย ค่าขนส่งสินค้า อุปกรณ์ใน/ต่างประเทศ มีหนังสือรับรองจากรัฐว่าเข้าร่วมงานจริง

- ค่าใช้จ่ายในการจัดสร้าง และบำรุงรักษาสนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ หรือสนามกีฬา

2. หักรายจ่ายได้ 1.5 เท่า และอื่น ๆ

- รายจ่ายที่เพิ่มขึ้นอีก 25 % สำหรับค่าซื้ออุปกรณ์ประหยัดพลังงานที่เปลี่ยนแทนอุปกรณ์เดิม

- ค่าใช้จ่ายพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ

- รายจ่าย 1.5 เท่า สำหรับจ่ายค่าครองชีพของพนักงาน

3. ค่าสึกหรอ คอมพิวเตอร์ /อุปกรณ์ สำหรับ บจ./หสน. มีสินทรัพย์ถาวร ไม่เกิน 200 ล้านบาท และจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน

- เดิมหัก 5 ปี ปีละ 20 %

- หัก 40 % ในวันที่ได้มา ส่วนที่เหลือ ทยอยหักภายใน 3 ปี

4. บริษัทฯ ให้เช่ารถยนต์

- รถยนต์นั่ง ไม่เกิน 10 ที่นั่ง หัก 5 ปี ปีละ 20 % ของมูลค่าต้นทุนทั้งหมด จากเดิมไม่เกิน 1 ล้านบาท

5. บริษัทฯ ประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

- รายจ่ายลงทุนต่อเติม หรือเปลี่ยนแปลงทรัพย์สิน สังหาริมทรัพย์ (มิใช่รถยนต์) หัก 60 % ในวันได้มา ส่วนที่เหลือทยอยหัก ภายใน 5 ปี

6. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ บจ./หสน. ที่มีสินทรัพย์ถาวรไม่เกิน 200 ล้านบาท และจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน

- กรณีไม่จำกัด อายุ หัก 10 ปี ปีละ 10%

- หัก 40% ในวันได้มา ที่เหลือทยอยหักภายใน 3 ปี

7. หักค่าสึกหรออัตราเร่ง

- จำนวนปีที่หักน้อยกว่าปกติ

- อัตราร้อยละที่หักในปีแรก หักได้มากกว่าปีอื่น ๆ แต่จำนวนปีที่หักยังคงปกติ

- อัตราร้อยละที่หักในปีแรก หักได้มากกว่าปีอื่น ๆ แต่จำนวนปีที่หักน้อยกว่าปกติ


ที่มา : กลุ่มบริหารการเสียภาษี SMEs กรมสรรพากร วันที่ 14 กันยายน 2554

 

  • สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร ที่ได้รับการสนับสนุนจากมาตรการภาษี SMEs

1. ลดอัตราภาษีและยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับผู้ประกอบการขนาดย่อม (ทุนจดทะเบียนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท) จากร้อยละ 30 เป็น ยกเว้นภาษี สำหรับกำไรสุทธิ ไม่เกิน 1.5 แสนบาท, ร้อยละ 15 สำหรับกำไรสุทธิเกิน 1.5 แสนบาทแต่ไม่เกิน 1 ล้านบาทและร้อยละ 25 สำหรับกำไรสุทธิที่เกิน 1 ล้านบาทแต่ไม่เกิน 3 ล้านบาท สำหรับกำไรสุทธิในส่วนที่เกินกว่า 3 ล้านบาทยังคงเสียภาษีในอัตราร้อยละ 30 (ใช้สำหรับกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2551 เป็นต้นไป)

ตัวอย่างการคำนวณ
บริษัท ก. มีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 5 ล้านบาท มีกำไรสุทธิปี 2545 จำนวน 8 ล้านบาท

กำไรสุทธิ

อัตราภาษี

ภาระภาษี

ก่อนปรับ

หลังปรับ

ลดลง

1.5 แสนบาท

ยกเว้น

1.5 แสนบาท - 1 ล้านบาท

15%

15%*850,000 = 127,500

1-3 ล้านบาท

25%

25%*2,000,000 = 500,000

มากกว่า 3 ล้านบาท

30%

30%*5,000,000 = 1,500,000

รวม

30%*8,000,000 = 2,400,000

2,127,500

272,500


2. ให้ผู้ประกอบการการขนาดกลางขนาดย่อม:SMEs(สินทรัพย์ถาวรไม่รวมที่ดินไม่เกิน 200 ล้านบาท และจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน) หักค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นในวันที่ได้ทรัพย์สินประเภทคอมพิวเตอร์ อาคาร และเครื่องจักรในอัตราพิเศษ สำหรับทรัพย์สินที่ได้มาภายในหรือหลังวันที่ 31 ม.ค.45

2.1 คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (ไม่รวมโปรแกรมคอมพิวเตอร์) ให้หักค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นร้อยละ 40 ในวันที่ได้ทรัพย์สินมา ส่วนที่เหลือให้ทยอยหักตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สามารถหักค่าเสื่อมได้ภายในเวลาไม่น้อยกว่า 3 รอบระยะเวลาบัญชี
ตัวอย่างการคำนวณ หักค่าเสื่อมราคาแบบเส้นตรง

ปีที่ 1

ปีที่ 2

ปีที่ 3

40%+60/3 = 60%

60/3=20%

60/3=20%



2.2 อาคาร โรงงาน ให้หักค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นร้อยละ 25 ในวันที่ได้ทรัพย์สินมา ส่วนที่เหลือให้ทยอยหักตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ อาคาร โรงงาน สามารถหักค่าเสื่อมได้ภายในเวลาไม่น้อยกว่า 20 รอบระยะเวลาบัญชี
ตัวอย่างการคำนวณ หักค่าเสื่อมราคาแบบเส้นตรง

ปีที่ 1

ปีที่ 2

........

.........

ปีที่ 20

25%+75/20 = 28.75%

75/20 = 3.75%

75/20 = 3.75%



2.3 เครื่องจักร และอุปกรณ์เครื่องจักร ให้หักค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นร้อยละ 40 ในวันที่ได้ทรัพย์สินมา ส่วนที่เหลือให้ทยอยหักตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ เครื่องจักรและอุปกรณ์เครื่องจักร สามารถหักค่าเสื่อมได้ภายในเวลาไม่น้อยกว่า 5 รอบระยะเวลาบัญชี
ตัวอย่างการคำนวณ หักค่าเสื่อมราคาแบบเส้นตรง

ปีที่ 1

ปีที่ 2

ปีที่ 3

ปีที่ 4

ปีที่ 5

40%+60/5 = 52%

60/5 = 12%

60/5 = 12%

60/5 = 12%

60/5 = 12%



3. ยกเว้นเงินปันผล หรือผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้นที่นิติบุคคลร่วมลงทุน (VC)ได้รับจากการถือหุ้นในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม:SMEs (สินทรัพย์ถาวรไม่รวมที่ดิน ไม่เกิน 200 ล้านบาทและจ้างแรงงาน ไม่เกิน 200 คน) โดยมีเงื่อนไข ดังนี้

(1) นิติบุคคลร่วมลงทุน (VC) ต้องเป็นนิติบุคคลตามกฏหมายไทยตามประกาศกระทรวงการคลังที่ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน โดยมีทุนจดทะเบียน ไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาท และมีการชำระค่าหุ้นครั้งแรก ไม่น้อยกว่า ? ของทุนจดทะเบียน และชำระค่าหุ้นที่เหลือทั้งหมดภายใน 3 ปีนับแต่วันจดทะเบียน (โดย VC สามารถลดทุนจดทะเบียนได้หากถือหุ้นใน SMEs ติดต่อกันนานกว่า 7 ปี)
(2) ต้องได้รับการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(กลต.)ภายใน 3 ปี นับแต่วันที่ 31 มกราคม 2545
(3) VC ต้องมีสัดส่วนหุ้นใน SMEs ต่อทุนจดทะเบียนชำระแล้ว ดังนี้
- 20% สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปีที่ 1
- 40% สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปีที่ 2
- 60% สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปีที่ 3
- 80% สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปีที่ 4
(4) ต้องถือหุ้นใน SMEs อย่างน้อย 7 ปีติดต่อกัน เว้นแต่ SMEs นั้นจะสามารถเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ จึงจะอนุโลมให้ถือหุ้นใน SMEs น้อยกว่า 7 ปีแต่ต้องไม่น้อยกว่า 5 ปี
(5) ต้องมอบหมายให้ผู้ได้รับใบอนุญาติประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการเงินร่วมลงทุนเป็นผู้จัดการ VC ใน SMEs

4. ยกเว้นเงินปันผลและผลประโยชน์จากการโอนหุ้นที่ให้แก่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล สำหรับเงินได้ที่ได้รับจาก VC ที่ได้รับยกเว้นภาษีตามข้อ 3.

ที่มา: http://www.rd.go.th/publish/16895.0.html

 

  • โครงการ Knowledge Apartment Map (Update 04 Feb 2011)

    วันก่อนได้ไปร่วมสัมมนาที่กรมสรรพากร ได้เห็นแผ่นป้ายขนาดใหญ่ในกรมฯ ติดเด่นเลย เลยรีบเข้าไปดูว่าเกี่ยวกับเรื่องอะไร พอเข้าไปดูใกล้ๆ เห็นว่าเป็นเรื่องการทำแผนที่ผู้ประกอบการอพาร์ทเม้นท์ โอ้ !! เป็นเรื่องใกล้ตัวขึ้นมาแล้ว กรมฯ เริ่มจะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในเรื่องการจัดเก็นภาษีมากขึ้น ถึงแม้ว่าตอนนี้จะเป็นในส่วนของ Apartment แต่ในอนาคต มีความเป็นไปได้ในการขยายขอบเขตไปยังธุรกิจอื่นๆ ด้วย

    มาดูกันว่าโปรเจคนี้ มีรายละเอียดอะไรบ้าง

    เห็นบอกว่าเป้าหมาย เพื่อนำข้อมูลผู้ประกอบการอพาร์ทเม้นท์มาบรรจุลงในแผนที่ภาษีฉบับ @BKK12 เพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหาร การสำรวจและจัดเก็บภาษีให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด

    ขอบเขตที่เป็นพื้นที่ Pilot Project คือเขตสวนหลวงบริเวณถนนอ่อนนุชรอยต่อเขตพระโขนงทั้ง 2 ฝั่งถนน จนถึงซอยอ่อนนุช 27 และ อ่อนนุช 36

    เครื่องมือที่ใช้ใช้โปรแกรม Adobe Acrobat Professional ว่าไปแล้วก็เห็นเป็นการเริ่มต้นที่ดีในการจัดเก็บข้อมูลให้อยู่ในรูปอิเล็คทรอนิกส์ เพื่อประโยชน์ในอนาคตสามารถจัดทำเป็นฐานข้อมูล ซึ่งอาจนำไปใช้ในการเป็นข้อมูลอ้างอิงหรือเพื่อค้นคว้าข้อมูลเชิงเศรษฐกิจระดับประเทศได้น่ะค่ะ

 

  • ประหยัดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยการวางแผนภาษี (Update 17 Apr 2011)

    ความจริงแล้วการวางแผนภาษีนั้น ให้ประโยชน์กับเราหลายประการ และไม่ได้เป็นเรื่องยากจนเกินไป

    ประโยชน์ของการวางแผนภาษีคือ

    •  ลดภาระทางภาษีโดยจ่ายภาษีเท่าที่จำเป็นตามกฎหมายกำหนด

    •  ลดความเสี่ยงที่จะทำผิดกฎหมายแล้วต้องมาเสียเบี้ยปรับเงินเพิ่ม

    •  เงินภาษีที่ประหยัดได้สามารถนำไปลงทุนเพื่อเพิ่มค่าได้ต่อไป

    การวางแผนภาษีล่วงหน้านั้น เป็นการใช้สิทธิประโยชน์ที่รัฐมอบให้ในรูปแบบต่างๆ เช่น การได้รับยกเว้นภาษี การใช้สิทธิลดหย่อนภาษี การใช้สิทธิเครดิตภาษีคืน เป็นต้น

    ถ้าอย่างนั้นเราลองมาดูสิทธิประโยชน์ที่รัฐให้กันที่ละเรื่อง

    เรื่องแรก รายได้ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี

    ถ้าเรารู้เรื่องนี้ เราก็ไม่ต้องคำนวณภาษีเกินอย่างผิดพลาด

    รายได้ที่ได้รับการยกเว้น ได้แก่

    •  ดอกเบี้ยที่ได้จากพันธบัตรออมทรัพย์รัฐบาลรุ่นที่รัฐบาลกำหนด ดอกเบี้ยจาการฝากออมทรัพย์พิเศษปลอดภาษี ดอกเบี้ยเงินฝากสหกรณ์ประเภทอมทรพย์ ดอกเบี้ยและรางวัลจากสลากออมสิน/สลาก ธกส.

    •  กำไรจากการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลากหลักทรัพย์ (ไม่รวมหุ้นกู้และพันธบัตร) กำไรจาการขายตราสารอนุพันธ์ในตลาดอนุพันธ์ และกำไรจากการขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม

    เรื่องที่สอง การออมหรือการลงทุนที่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษี ได้แก่

    •  การลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund: RMF) และกองมุนรวมหุ้นระยะยาว (Long Term Equity Fund: LTF) โดยผู้ลงทุนใน RMF สามารถหักค่าลดหย่อนภาษีไม่เกิน 15% ของเงินได้โดยเมื่อรวมกับเงินสะสมของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการแล้ว ไม่เกิน 500,000 บาท ส่วน LTF หักภาษีได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท

    •  เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) สามารถหักได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท

    •  ประกันชีวิต สามารถหักได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท แต่ต้องเป็นกรมธรรม์ที่มีอายุเกิน 10 ปี ตามเงื่อนไขที่กำหนด

    •  ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมซื้อที่อยู่อาศัย หักลดหย่อนตามจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

    •  เงินบริจาคเพื่อสาธารณกุศล

    เรื่องที่สาม เครดิตภาษ

    เงินปันผลที่ได้จากการลงทุน ผู้ลงทุนสามารถใช้สิทธิขอเครดิตภาษีเงินปันผลคืนได้

    ความจริงเราสามารถเลือกที่จะเสียภาษีเงินได้เงินปันผล ให้เท่ากับจำนวนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่ถูกหักไปแล้วโดยทั่วไปจะ 10% ซึ่งเราก็ไม่ต้องนำรายได้เงินปันผลมารวมเป็นเงินได้เพื่อคำนวณภาษี

    แต่ถ้าดูกันจริงๆ แล้วเราในฐานะผู้ถือหุ้นเสียภาษีจากกำไรของกิจการที่เราไปลงทุน อาจสูงถึง 37% ของกำไร (มาจากภาษีนิติบุคคล 30% และภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10%) ซึ่งเป็นอัตราภาษีที่สูงที่สุดของบุคคลธรรมดา (ดูว่าเงินปันผลของกิจการที่จ่ายให้เรานั้นจ่ายจากกำไรที่กิจการเสียภาษีนิติบุคคลในอัตราเท่าไรได้จากหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายของเงินปันผล)

    ดังนั้นถ้าเราเสียภาษีในอัตราน้อยกว่า 37% การขอคืนเครดิตภาษีเงินปันผล จึงเป็นเรื่องที่ควรทำ

    ถ้าเราต้องการเลือกขอเครดิตภาษีเงินปันผล ต้องทำดังนี้

    •  คำนวณจำนวนเงินเครดิตภาษีเงินปันผลที่จะได้รับ

    •  นำเงินปันผลและเครดิตภาษีไปรวมเป็นรายได้เพื่อคำนวณภาษี

    •  หลังจากที่นำเอารายได้พึงประเมินหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่างๆ ครบแล้ว ก็จะได้รายได้สุทธิที่จะไปคำนวณภาษีตามอัตราก้าวหน้า

    •  หลังจากที่ทราบตัวเลขภาษีที่ต้องชำระตามอัตราก้าวหน้าแล้ว เราก็จะนำเครดิตภาษีเงินปันผลและภาษีหัก ณ ที่จ่ายของเงินปันผล (10% ของเงินปันผล ) มาหักออกจากภาษีที่ต้องชำระตามอัตราก้าวหน้า

    เพียงเท่านี้เราก็สามารถวางแผนภาษีล่วงหน้า เพื่อบริหารจัดการภาษีด้วยการเสียภาษีให้รัฐอย่างถูกต้องและครบถ้วน แล้วยังเป็นการเพิ่มความมั่นคงทางการเงินให้กับตัวเองด้วย

 
 
     
 
 
@ copyright by www.kk-solution.com